
ส่วนประกอบ ปริมาณที่เหมาะสม โปรตีน 25-30% ไขมัน 1-4% คาร์โบไฮเดรต 30-60% วิตามินเอ (A) 4,000 IU/กก. วิตามินบี (B) 5-10 มก./กก. วิตามินซี (C) 50-200 มก./กก. วิตามินดี (D) 500-2,000 IU/กก. วิตามินอี (E) 10-50 IU/กก. ปริมาณ 3-7% น้ำหนักตัว/วัน
ผลิตและจำหน่ายพันธุ์ปลานิลและปลาทับทิม
คุณสมบัติน้ำ ค่าที่เหมาะสม ผลกระทบหากมีค่าไม่เหมาะสม อุณหภูมิ 19-29 °c อยู่ได้ไม่นานและอาจตายได้ ไม่กินอาหาร โตช้า ไม่วางไข่ ความเค็ม <10 ppt โตช้า เครียด ความเป็นกรด-ด่าง 6.5-8.5 โตช้า อ่อนแอ ปริมาณออกซิเจน >1 ppm ปลาลอยหัว เครียด โตช้า แอมโมเนียและไนไตรท์ <0.02 ppm เป็นพิษ ทำให้ปลาตาย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ <0.002 ppm เป็นพิษ ทำให้ปลาตาย คาร์บอนไดออกไซด์ <70 ppm เป็นพิษ ทำให้ปลาตาย สารแขวนลอยและตะกอน มากเกินไป ออกซิเจนต่ำ แอมโมเนีย/ คาร์บอนไดออกไซด์/ไฮโดรเจนซัลไฟด์ สูง ปริมาณแพลงตอนพืช มากเกินไป ออกซิเจนต่ำ แอมโมเนีย/ คาร์บอนไดออกไซด์/ไฮโดรเจนซัลไฟด์ สูง
เลี้ยงปลานิลหรือนิลแดงในกระชังแบบลอยน้ำขนาด 5*5*2.5 เมตร โดยใช้ถังเหล็กหรือถังพลาสติกเป็นทุ่นลอย ตัวโครงกระชังใช้เหล็กหรือไม้ ปล่อยเลี้ยงลูกปลาขนาด 30-50 กรัม จำนวน 30-50 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ให้ปลากินอาหารสำเร็จรูประดับโปรตีน 30-40% ปริมาณ 3-4% ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เลี้ยงนาน 90-120 วัน จะได้ปลาขนาด 1-2 ตัว/กิโลกรัม และได้ผลผลิต 20-25 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบบพัฒนา เลี้ยงปลานิลขนาด 20-50 กรัม ในบ่อดิน ความหนาแน่น 8,000-10,000 ตัว/ไร่่่ ให้กินอาหารสำเร็จรูประดับโปรตีน 25-30% ปริมาณ 3-4% ของน้ำหนักตัว โดยใช้เครื่องพ่นอาหาร วันละ 10 ชั่วโมง เปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มอากาศในบ่อเลี้ยง เลี้ยงนาน 8-10 เดือน จะได้ปลาขนาด 800-1000 กรัม และได้ผลผลิต 2-3 ตัน/ไร่
เลี้ยงปลานิลขนาด 0.3 กรัม ในบ่อดินโดยใส่ปุ๋ยและให้อาหารสมทบ ความหนาแน่น 3,000-8,000 ตัว/ไร่่ อัตราใส่ปุ๋ย -ปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) 10 กิโลกรัม/ไร่/สัปดาห์ +ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต (สูตร 0-46-0) 5 กิโลกรัม/ไร่/สัปดาห์ -ปุ๋ยนา (สูตร 16-20-0) 30 กิโลกรัม/ไร่/สัปดาห์ -อามิ-อามิ 100-200 ลิตร/ไร่ เลี้ยงนาน 6 เดือน จะได้ปลาขนาด 1-2 ตัวกิโลกรัม และได้ผลผลิต 0.8-1.6 ตัน/ไร่ ความหนาแน่น (ตัว/ไร่) การใส่ปุ๋ย การให้อาหารสำเร็จรูป อาหารที่ให้ (กก.) ขนาดปลาที่จับได้ (กรัม) ผลผลิต (กก./ไร่) 3,000 ใส่ปุ๋ย ไม่ให้อาหาร 0 350-400 800 4,000 ใส่ปุ๋ย ไม่ให้อาหาร 0 280-330 800 5,000 ใส่ปุ๋ย ให้ 1 เดือนสุดท้าย 300 350 1,000 6,000 ใส่ปุ๋ย ให้ 2 เดือนสุดท้าย 600 350 1,200 7,000 ใส่ปุ๋ย ให้ 3 เดือนสุดท้าย 900 350 1,400 8,000 ใส่ปุ๋ย ให้ 4 เดือนสุดท้าย 1,200 350 1,600
การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน อนุบาลลูกปลาขนาด 0.3 กรัม ในบ่อดิน ความหนาแน่น 50,000 ตัว/ไร่ เตรียมบ่ออนุบาลล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ โดยตากบ่อให้แห้ง ใส่ปูนขาว 150-200 กิโลกรัม/ไร่ เติมน้ำในบ่อให้สูงประมาณ 1 เมตร โดยกรองน้ำผ่านถุงกรองไนล่อนตาถี่ ใส่ปุ๋ยเพื่อเพาะอาหารธรรมชาติ ให้ลูกปลากินอาหารสำเร็จรูปเม็ดเล็กระดับโปรตีน 40% ปริมาณ 5% ของน้ำหนักตัว วันละ 4 ครั้ง อนุบาลลูกปลานาน 30-60 วัน จะได้ปลาขนาด 30-50 กรัม อัตราการรอดประมาณ 80% การอนุบาลลูกปลาในกระชัง อนุบาลลูกปลาขนาด 0.3 กรัม ในกระชังมุ้งไนล่อนเบอร์ 16 หรือกระชังตาปู หรือกระชังตาพริกไทย ความหนาแน่น 200-350 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ให้ลูกปลากินอาหารสำเร็จรูปเม็ดเล็กระดับโปรตีน 40% ปริมาณ 5% ของน้ำหนักตัว วันละ 4 ครั้ง อนุบาลลูกปลานาน 30-60 วัน จะได้ปลาขนาด 30-50 กรัม อัตราการรอดประมาณ 80%
แปลงเพศลูกปลาระยะถุงไข่ยุบ (ตัวอ่อนระยะที่ 5) ในกระชังมุ้งไนล่อนที่แขวนในบ่อซีเมนต์ โดยให้ลูกปลากินอาหารผงผสมฮอร์โมน 17a- methyltestosterone ความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นาน 5 วัน ย้ายลูกปลาอายุ 5 วัน ไปแปลงเพศต่อในกระชังมุ้งไนล่อนที่แขวนในบ่อดิน ให้ลูกปลากินอาหารผงผสมฮอร์โมน 17a- methyltestosterone ความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นาน 20 วัน จะได้ลูกปลาเพศผู้ขนาด 0.25-0.3 กรัม Sex reverse swim-up fry in hapa installed in concrete tank by feeding fry with powdered feed mixed with 17a- methyltestosterone at 60 mg/kg for the period of 5 days. Sex reverse 5-day old fry in hapa installed in earthern pond by feeding fry with powdered feed mixed with 17a- methyltestosterone at 60 mg/kg for the period of 20 days. Fish will reach the size of 0.25-0.30 g in weight.
ผสมพ่อแม่ปลาในบ่อเพาะพันธุ์ ความหนาแน่น 2 ตัว/ตารางเมตร อัตราผสมพันธุ์ เพศผู้ซูเปอร์เมล : เพศเมีย = 1 : 2 ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันนาน 7 วัน รวบรวมไข่จากปากแม่ปลาแต่ละตัว Stocking brooders in the 150-m2 concrete tanks with the sex ratio of male to female of 1 : 2, 2 fish/m2 Allow male and female brooders mating for 7 days นำไข่ไปฟักในโรงเพาะฟัก ฟักไข่ระยะที่ 1-2 ในกรวยฟักไข่ อนุบาลตัวอ่อนระยะที่ 3-5 ในถาดอนุบาล Collect eggs from female brooders Transfer eggs to hatchery Incubate larval stages 1-2 in jars Nurse larval stages 3-5 in trays
Nile tilapia (Oreochromis niloticus) ถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา นิยมเลี้ยงในเขตร้อน บริเวณน้ำจืดและน้ำกร่อยอุณหภูมิ 8-42 องศาเซลเซียส กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร รูปร่างลักษณะ – ลำตัวสั้นป้อม แบนข้าง สีเขียวปนน้ำตาล กลางเกล็ดมีสีเข้ม – ริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน – มีแถบพาดขวางลำตัว 9-10 แถบ – มีลายขวางบริเวณครีบหาง 7-12 แถบ – บริเวณขอบครีบหลังสีดำหรือเทา – มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด – บริเวณแก้มมีเกล็ด 3 แถว The Nile tilapia is popular fish due to its hardiness, tolerance to a wide range of environmental conditions including temperature and salinity, resistance to diseases, ease to breed, fast growth and good taste. Nile tilapia is a member of the family Cichidae. It is shaped much like sunfish, and is easily identified by an uninterrupted lateral line. They are laterally compressed and deep-bodied with long dorsal fins which front portion is armed with vicious spines. Spines are also found in the pelvic and anal fins. The sides of fry, fingerlings, and sometimes adults are usually marked with wide vertical bars. Nile tilapia is a mouth-brooder. Mature male Nile tilapia have gray or pink pigmentation in the throat region. The male has two openings just in front of the anal fin: the large opening is the anus and the smaller opening at the tip is the urogenital pore. The female has three openings: the anus, the genital pore, and the urinary pore. The genital papilla is usually smaller in the female. Nile tilapia can be visually sexed when they attain the weight of 15 g. Eggs are yellow in color. Eggs hatch in about five to seven days. After hatching the fry remain in the mouth of the female for another four to seven days.…